1.แบบคลัสเตอร์ เป็นอาการผิดปกติทางระบบประสาท จะปวดหัวเป็นชุดๆ นานครั้งละประมาณ 1 ชั่วโมง
เวลาเดิมๆ ของทุกวัน ปวดบริเวณขมับ เบ้าตา มีน้ำตาไหล น้ำมูกไหล
2.ปวดจากความเครียด ทั้งนี้เพราะในภาวะเครียด ร่างกายจะหลั่งสารเคมีบางชนิด ที่ทำให้กล้ามเนื้อ
บริเวณขมับ ศรีษะ บ่า และไหล่ หดตัว ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี และเกิดอาการปวดหัวตามมา การนวดผ่อนคลายช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และช่วยลดอาการปวดหัวแบบนี้ลงได้
3.ปวดไมเกรน เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่ผิวสมอง ส่งผลให้หลอดเลือดสมองขยายตัวและอักเสบ มักจะปวดหัวข้างเดียว และปวดตุบๆ คล้ายเส้นเลือดเต้น
4.TMJ เกิดจากความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว จะปวดบริเวณใบหน้า
ปวดหัว ขมับ กกหู และขากรรไกร
5.ปวดหัวจากไซนัสอักเสบ เกิดจากอาการบวมของไซนัส ทำให้เลือดบริเวณรอบๆ ไหลเวียนไม่ดี ส่งผลให้ปวดหน่วงๆ ตามจุดต่างๆ เช่น หน้าผาก หัวตา โหนกแก้ม หรือรอบกระบอกตา
6.ปวดจากความดันโลหิตสูง จะปวดมึนบริเวณท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนหัว และมักจะเป็นตอนตื่นนอน
ยาแก้ปวด
-พาราเซตามอล ยาแก้อาการปวดหัวแบบไม่รุนแรง ปลอดภัย เมื่อใช้ในขนาดปกติ คือครั้งละ 1-2 เม็ด (500 มิลลิกรัม) ทุก 4-6 ชั่วโมง และใช้ติดต่อกันไม่เกิน 5-7 วัน
-แอสไพริน กรดมีเฟนามิก ไอบูโพรเฟน ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์แก้ปวดได้ในระดับปานกลาง แต่มีฤทธิ์เป็นกรด ควรกินหลังอาหารทันที เพื่อช่วยลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และไม่ควรกินติดต่อกันนานๆ
เพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารได้
-กลุ่มอนุพันธ์ของฝิ่น ออกฤทธิ์แก้ปวดหัวชนิดรุนแรงแต่มีฤทธิ์เสพติดถ้าใช้ติดต่อกันนานๆ จึงควรใช้ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์หรือทันตแพทย์
Comentários