top of page
Yuttana Varoonpitigul

20 ปี คลื่น 7 ชั้น คลื่นความรู้สู้ภัยพิบัติยุคโลกรวนทะเลร้อน (2)

Updated: 2 days ago

ยุทธนา วรุณปิติกุล


ตอนที่ 2  ไขความรู้ในคลื่น 7 ชั้น รับมือโลกร้อน มหาสมุทรป่วน


คลื่น 7 ชั้น ที่พาคนรอดชีวิตจากสึนามิเป็นภูมิรู้หรือภูมิปัญญาความรู้ท้องถิ่นและชาติพันธ์ แบบหนึ่ง ที่อธิบายว่าทำไมสหประชาชาติให้ความสำคัญต่อความรู้นอกตำราวิทยาศาสตร์แบบตะวันตก เพื่อจัดการ กับปัญหาโลกร้อนหรืออยู่กับยุคภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อนและมหาสมุทรแปรปรวนได้อย่างลดความเสี่ยง


คลื่นลูกที่ 3 คลื่นความรู้ชายขอบและท้องถิ่น ในยุคโลกร้อนมหาสมุทรแปรปรวน


ช่วง ค.ศ.1850-1859 อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1 องศาเซนเซียส

ช่วง ค.ศ.2020 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงกว่า ช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมราว 1.4 องศาเซนเซียส

ภายในศตวรรษที่21นี้(ค.ศ.2000-2099)คาดว่าโลกจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นราว 3 องศาเซนเซียส แม้ทุกประเทศจะมีแผนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้วก็ตาม

บนแผ่นดิน การเกิดไฟป่าที่รุนแรงแบบไฟป่าออสเตรเลีย ในปี 2023 จะเป็น "ภาวะปกติ" ของโลกอนาคตที่อุณหภูมิสูงขึ้น 3 องศาเซลเซียส

ปี ค.ศ.2023 เป็นปีที่อากาศของโลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงที่สุดนับจากช่วง ค.ศ.1850-2023 คือสูงกว่าตลอดศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา


ภาพที่ 1 แสดงภาวะโลกร้อน แสดงอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในช่วง 47 ปี จากช่วงปีคศ. 1976-2023

ที่มา: https://www.climate.gov



ภาพที่2แสดงอุณหภูมิมหาสมุทร ที่สูงขึ้นในช่วงปีคศ. 2016  โดยแบ่งเป็นเฉดความเย็น อุ่น ร้อน ร้อนสุด  อุณหภูมิเพิ่มสูง คือ พื้นที่สีแดงเข้ม ที่มา : National centers for Environmental information



ในมหาสมุทรและทะล ในส่วนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย  ทะเลไทยทั้งสองฝั่ง มหาสมุทร  คืออันดามันฝั่งมหาสมุทรอินเดียและอ่าวไทยต่อเนื่องมหาสมุทรแปซิฟิก ระดับ อุณหภูมิสูงขึ้น ทะเลร้อนขึ้น  

 

คำอธิบายเพิ่มเติมจากข้อมูลนี้  ในแง่ผลให้เกิดทั้งปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว นั่นคือ ปะการังในฐานะระบบนิเวศแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลต้องเสียหาย และปรากฏการณ์ที่สอง คือ ภาวะทะเลกรด คือ น้ำทะเลมีความเป็นกรดสูงขึ้น ที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อระบบนิเวศทะเล อีกหลายส่วน ตลอดจนการตายของแหล่งหญ้าทะเลหลายหมื่นไร่ ที่เป็นอาหารของพะยูน จนเกิดการอพยพหนีความอดอยาก ของพะยูนส่วนหนึ่งหนีตายจากเกาะลิบง เมืองหลวงของ พะยูนใน จ.ตรังสู่ภูเก็ต และอ่าวพังงา ที่พบเห็นการปรากฏตัวของพะยูนกลุ่มหนึ่ง


 ภาพกราฟ แสดงความเปลี่ยนแปลงระดับความร้อนในมหาสมุทร60 ปี ในช่วง คศ.1960-2020

 

ผลกระทบต่อนิเวศทะเลและมหาสมุทร : เมื่อโลกร้อน ทะเล มหาสมุทรก็ร้อนขึ้น  เพราะ มหาสมุทรและระบบทะเลที่เชื่อมต่อกันทั้งโลก เป็นแหล่งลดความร้อนจากภาวะโลกร้อนโลก คล้ายเป็น หม้อน้ำระบายความร้อนแล้ว มหาสมุทรยังเป็นแหล่งกำเนิดวัฎจักรภูมิอากาศ ลม ฝนและพายุ ทะเลที่ร้อนขึ้นจึงนำมาซึ่งภาวะฝนตกในแบบแผนใหม่ๆ    เช่น ฝนตกหนัก  พายุขนาดใหญ่ ที่ขณะนี้ใช้คำทั่วๆไปว่า Rain Bomb

      

ข้อมูลในช่วงทศวรรษ 1950 ถึง2019  พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของมหาสมุทรโลกในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 0.075 องศาเซลเซียส เทียบกับช่วงปี 1981-2010  มหาสมุทรดูดซับความร้อนของโลกไว้มากกว่าที่คาดถึง 60%  มหาสมุทรร้อนจนระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้น 30 ซม.ก่อนสิ้นศตวรรษที่21นี้  โดยอุณหภูมิของทะเล ที่สูงขึ้น ทำให้เกิดสภาวะอากาศที่แปรปรวน  ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้น ตามอุณหภูมิ ที่เกิดจากการพัฒนาแบบตะลุยใช้ทรัพยากรเพื่อสนองความอยากและความรวย ขณะที่การเพิ่มขึ้นของ อุณหภูมิทะเลส่งผลต่อวัฎจักรภูมิอากาศ วงจรฝนและการเกิดพายุรุนแรงขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏ


แผนภาพที่3 ให้ข้อมูลปรากฏการณ์ฝนฟ้าทั่วโลกในปีนี้คือ คศ.2024 (ข้อมูลล่าสุด ถึงเดือนพย.) ชี้ให้เห็นถึงผลจากภาวะ

โลกร้อนโลกรวน และภาวะทะเลร้อนขึ้น ที่ส่งผลต่อภูมิอากาศและวัฎจักรฝนแปรปรวน เกิดภาวะลม

ฝนฟ้าและพายุในรูปแบบใหม่ๆในทุกภูมิภาค(Region)ของโลก 

 

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรณี ประเทศไทยกับเพื่อนบ้านรายรอบไทยและ มาเลเซีย ที่เกิดภาวะฝนตกหนักอย่างผิดปกติ ที่นำสู่ภาวะน้ำท่วม ระบุถึงการอพยพหนีภัย พิบัติธรรมชาติของพลเมืองจำนวนมากในภูมิภาค โดยสภาพมหาสมุทรและทะเล


ทะเลฝั่งอันดามัน และมหาสมุทรอินเดียเจอกับพายุไซโคลนถล่มเข้าอินเดียและศรีลังกา ส่วนทะเลฝั่งอ่าวไทยและมหาสมุทรแปซิฟิก เผชิญกับซุปเปอร์ใต้ฝุ่น เป็นครั้งแรกนับจาก ค.ศ.1951ที่ส่งกระทบหนักต่อฟิลิปปินส์ นอกเหนือจากการเผชิญพายุไต้ฝุ่นปกติตามฤดูกาล


ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสูงขึ้น ต้องเผชิญปรากฏการณ์ พายุใหญ่ ฝนตกหนัก และการแปรปรวนของวัฏจักรฝน เกิดผลต่อเนื่องคือ ภาวะน้ำท่วมฉับพลัน เช่น ฝนตกหนัก และน้ำท่วมในสเปน  กรณีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝนตกหนักและน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม  ในพม่า มาเลเซียและประเทศไทย (เฉพาะปี2567 อาทิ กรณีน้ำท่วม เชียงราย ,กรณีน้ำท่วมเชียงใหม่  กรณีภูเก็ต ,กรณีน้ำท่วมหาดใหญ่ ยะลา ปัตตานี  , ล่าสุดกรณีน้ำท่วมนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ ชุมพร )   ในระยะยาว  ปริมาณฝนที่ไม่ปกติ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันหรือภัยแล้ง ที่มีความรุนแรงขึ้น , การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อการจับปลาและการใช้ ทรัพยากรของคนชายฝั่ง  ตลอดจนปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัย


คลื่นลูกที่ 4 การค้นหาภูมิความรู้ที่ถูกลืมเพื่อรับมือโลกร้อนและมหาสมุทรแปรปรวน


ละบูน คลื่น 7 ชั้น คือภูมิปัญญาความรู้ในตำนานและเรื่องเล่าของชาวเล   เป็นเพียงกรณีตัวอย่างหนึ่ง ใน ระบบ ความรู้ ชาติพันธ์หลากหลายที่ถูกลบลืม  จนในยุคสมัยของโลกที่แปรปรวนและมหาสมุทร ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดในโลกและทรงอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของชีวิตแต่ ทะเลและมหาสมุทร กำลัง “ร้อนเปรี้ยวและหายใจไม่ออก”


สหประชาชาติจึงได้ประกาศทศวรรษแห่งมหาสมุทร( คศ.2021-2030 )UN Ocean decade เพื่อกระตุ้นให้ประชาคมโลกตระหนักถึงคุณค่า และร่วมกันศึกษาความรู้ชาติพันธ์ทะเลและภูมิปัญญา ท้องถิ่นต่างๆในชุมชนท้องถิ่น ที่จำเป็นต่อการผสานกับความรู้วิทยาศาสตร์มหาสมุทรและทะเล เพื่อช่วยในการจัดการรับมือกับภัยพิบัติธรรมชาติในยุคโลกร้อนและทะเลเดือด ส่วนใหญ่เป็น ความรู้ในรูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาติพันธ์ทั่วโลก


 กล่าวเฉพาะ ในกรณีการทำความเข้าใจความรู้และภูมิปัญญาของชาวเลในเฝ้าการสังเกตสึนามิ จะช่วยเสริมสร้างการเฝ้าระวัง  การจับตา การเตือนภัย นั่นคือการจัดการรับมือกับภัยพิบัติธรรมชาติ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


1.ด้วยการผสมผสานภูมิปัญญาชาวเลและเทคโนโลยีสมัยใหม่:   เพื่อการเฝ้าระวัง สังเกตการณ์ และเตือนภัยล่วงหน้าร่วมกับความรู้ดั้งเดิมของชาวเลในความรู้การสังเกตธรรมชาติของชาวเลและชุมชน, การส่งเสริมการนำความรู้ด้านการรับมือสึนามิและภัยพิบัติธรรมชาติอื่นในชุมชนชายฝั่ง  สร้างเครือข่าย ข้อมูลจริงจากท้องถิ่นสนับสนุนระบบเตือนภัยหลักได้แม่นยำขึ้นท้องถิ่นจะเข้าถึงและประเมินสถานการณ์จากพื้นที่แบบReal time โดยไม่ต้องรอศูนย์กลางสั่งการเตือนภัยแบบเดิม


2.การศึกษาความรู้ธรรมชาติ   อาทิ  การศึกษาความรู้ชาวเลผสานกับการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติ ในระบบหลัก, การจัดโอกาสให้ชาวเล และชุมชนท้องถิ่น ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ร่วมกับการปรับใช้ความรู้ ดั้งเดิมตอบสนองภัยพิบัติธรรมชาติและการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมชายฝั่งที่ผสานความรู้

การสื่อสารสู่สาธารณชน สื่อสารความรู้ท้องถิ่นที่ถูกทอดทิ้ง รื้อฟื้น สนับสนุนการเรียนรู้ ผ่านสื่อสาร มวลชนและสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเผยแพร่ความรู้แบบภูมิปัญญาที่ถูกลืมในบริบทความเสี่ยงภัยพิบัติธรรมชาติที่ใกล้ตัว ดังกรณีฝนตก น้ำท่วมจากเหนือสุดจนถึงใต้สุดของประเทศ  กระตุ้นการใช้ประโยชน์ความรู้ ท้องถิ่นผสานกับวิทยาศาสตร์  ดังตัวอย่างเช่น ในอินโดนีเซีย หรือการใช้ความรู้ของชาวเอสกิโม กับการติดตาม สังเกตการเปลี่ยนแปลงการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก และติดตามสถานะความ เปลี่ยนแปลงที่ใกล้ชิดพื้นที่ ร่วมกับภาพดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ


อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความรู้เชิงภูมิปัญหาเหล่านี้ก็สูญหาย ขาดการสืบทอดไปมาก  จากการ พูดคุยกับชาวเล จะพบว่าคนในหลายช่วงอายุในชุมชนมอแกลน เทพรัตน์ ที่อพยพสึนามิ จากเกาะพระทอง มาอาศัยบนแผ่นดิน คนรุ่นอายุ 88ปี , อายุ 64 ปี และอายุ35 ปี  ให้ข้อมูลที่ตรงกัน คือ ความไม่รู้ในเรื่อง เล่าคลื่น 7 ชั้น ไม่รู้จัก ละบูน  ส่วนภาษามอแกลนก็ฟังได้ถ้าเป็นประโยคง่ายๆในชีวิตประจำวัน เท่านั้น ที่ปัจจุบันกลายเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นที่อยู่จากเดิมจากสึนามิ




 “อยากกลับไปอยู่เกาะเหมือนเดิม ชอบกว่าแบบนี้แต่บ้านไม่มีแล้ว “  

ยายริ่ว กล้าทะเล    อายุ 88 ปี  ผู้ย้ายถิ่นจากเกาะพระทอง


บทส่งท้ายในวาระ 20 ปีสึนามิ

  • ข้อคิด: ความรู้ดั้งเดิมของชาวเลในการสังเกตคลื่นยักษ์สึนามิและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติเป็น ความรู้ที่ถูกลืม เป็นความทรงจำที่หายไป เป็นความรู้ในการติดตามธรรมชาติ และการ ตือนภัย (Early warning) เพื่อป้องกันภัยพิบัติและลดทอนความเสียหายร้ายแรง  ดังนั้นการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับความรู้วิทยาศาสตร์และใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่จะช่วย รับมือกับภัยพิบัติธรรมชาติ ในยุคเสี่ยงภัยพิบัติธรรมชาติที่สูงขึ้น

  •  ความหวัง : ควรให้ค่าต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะความรู้ชายขอบของชาติพันธ์ และส่งเสริมความรู้ท้องถิ่น  เพื่อติดตั้งระบบเตือนภัยในตัวพลเมือง นั่นคือความรู้เอาตัวรอด ซึ่งเป็นเครื่องมือมีประสิทธิภาพสูง ดังที่เด็กหญิงชาวอังกฤษที่มาเที่ยวภูเก็ตใช้ความรู้สึนามิ ในชั้นเรียน ช่วยคนบนหาดหนีรอด  เช่นเดียวกับที่ชาวเล มอแกน พานักท่องเที่ยวขึ้นที่สูง รอดพ้นภัย ด้วยความทรงจำเรื่อง ตะบูน คลื่น 7 ชั้น ที่เล่าผ่านกันมาหลายร้อยปีจากสิ่งที่ บรรพบุรุษชาวเล เคยเผชิญในอดีตจากหลักฐานโบราณคดีที่เกาะพระทอง มีร่องรอย สึนามิยักษ์เมื่อราว 600 ปี ก่อน (ตีพิมพ์ในวารสารวิจัย Nature ตค.2551)



 

หมายเหตุ: บทความนี้มุ่งสำรวจข้อมูลภาคสนาม บทความวิจัย เพื่อทำความเข้าใจ ความสำคัญของภูมิปัญญาชาวเล ในยุคเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้สภาพนิเวศทะเลและอากาศแปรปรวนมากขึ้น รวมถึงแนวทางการ นำความรู้เหล่านี้มาใช้ในการรับมือกับภัยพิบัติในอนาคต.


 

แหล่งข้อมูล:

Syahputra, H. (2019). Indigenous knowledge representation in mitigation process: a study of communities’ understandings of natural disasters in Aceh Province, Indonesia. Collection and Curation38(4), 94-102.

Moura, G. G. M., & Diegues, A. C. S. A. (2023). The Production of the Human in Classical Oceanography: A Critics from Socio-environmental Oceanography. Ambiente & Sociedade26, e0196.

Gasalla, M. A., & Diegues, A. C. (2011). People's Seas: “Ethno‐Oceanography” as an Interdisciplinary Means to Approach Marine Ecosystem Change. World Fisheries: A Social‐Ecological Analysis, 120-136.

Tsuji, Y., Namegaya, Y., Matsumoto, H., Iwasaki, S. I., Kanbua, W., Sriwichai, M., & Meesuk, V. (2006). The 2004 Indian tsunami in Thailand: Surveyed runup heights and tide gauge records. Earth, planets and space58, 223-232.

พิพิธภัณฑ์บ้านน้ำเค็ม อ.ตะกั่วป่า จว.พังงา

 

Comments


bottom of page